วัดคีรีวงศ์ ตั้งวัดเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายนพ. ศ. ๒๕๑๙ เดิมเป็นวัดร้างมีสภาพเป็นป่า และภูเขาเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๔ พระธุดงค์มาปักกลดที่บริเวณวัดได้พบซากวัตถุโบราณ เช่น อิฐเก่า พระพุทธรูปเก่าใบเสมา และฐานอุโบสถ สงสัยว่าเป็นวัดร้างจึงชักชวนประชาชนสร้างกุฏิเล็ก ๆ ขึ้นที่บริเวณเนินเขาจำนวน ๓-๔ หลังและแจ้งให้กรมการศาสนาทราบ พ. ศ. ๒๕๐๗ กรมการศาสนาได้ส่งเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัดร่วมกับกรมศิลปากร โดยอาศัยหลักฐานจากวัตถุโบราณ และพยานบุคคลที่รู้เห็นน้ำชี้และสำรวจ ได้เนื้อที่ทั้งบนเขาและพื้นที่ราบ ประมาณ ๒๘๐ ไร่ซึ่งกรมการศาสนาได้ทำแผนที่ไว้เป็นหลักฐาน และกรมศิลปากร หน่วยศิลปากรที่ ๓ จังหวัดสุโขทัยได้พิสูจน์หลักฐานจากวัตถุโบราณ ปรากฏว่า วัดคีรีวงศ์สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ปลายกรุงสุโขทัยประมาณ 500 ปีมาแล้วเดิมชาวบ้านเรียกวัดคีรีวงศ์ว่า วัดบ่อกรุ เพราะมีบ่อน้ำซึมอยู่ ๒ บ่อ ปัจจุบันทางวัดยังใช้น้ำจากบ่อน้ำซึมนี้อยู่ พ.ศ. ๒๕๐๘ ผู้ริเริ่มสร้างวัดคีรีวงศ์ไปขอพระสงฆ์จากเจ้าคณะอำเภอเมืองนครสวรรค์ ทางคณะสงฆ์อำเภอเมืองนครสวรรค์ พิจารณาเห็นว่าที่ดินวัดคีรีวงศ์มีเนื้อที่มาก จึงจัดส่งพระมหาบุญรอดเปญฺญาวโร หรือพระราชพรหมาจารย์ ในปัจจุบันให้มาสร้างวัดคีรีวงศ์ และได้สร้างวัดมาจนถึงปัจจุบันได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายนพ. ศ. ๒๕๒๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตรยาว ๔๐ เมตร การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๕๒๐ มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๖ มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๖ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระราชพรหมาจารย์ วิ.
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อุโบสถ กว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๔๒ เมตรเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๗๒ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓๖ หลัง เป็นอาคารไม้ ๓๐ หลัง อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๖ หลัง วิหาร กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๘ เมตรเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลังเป็นอาคารไม้ นอกจากนี้มี หอระฆัง ๑ หลัง โรงครัว ๑ หลัง เรือนเก็บพัสดุ ๓ หลัง
อาณาเขต
พระราชพรหมาจารย์ วิ.
มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางสมาธิ พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางสมาธิ ปูชนียวัตถุอื่น ๆ ๑. อาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ๒. พระจุฬามณี ๓. พระพุทธชินสีห์ ๔. ห้องสมุดพุทธชินวงศ์ ๕. ศาลากวนอิม ๖. ศาลาธรรมสภา ๗. ศาลาเจ้าแม่กวนอิม ๘. ศาลาพระธรรมกิตติวงศ์ ๙. ศาลาพระพุทธชินราช ๑๐. ศาลาสันติสุข ๑๑. กุฏิวิปัสสนากรรมฐาน ๑๒. ลานปฏิบัติธรรม
A: ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕๖/๑ ถนนมาตุลี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
T: ๐ ๕๖๒๒ ๒๐๐๙ โทรสาร ๐ ๕๖๓๑ ๒๑๗๕
2019-2020 © NSRU