วัดพิกุล

ประวัติ วัดพิกุล

วัดพิกุล ตั้งวัดเมื่อพ. ศ ๒๔๕๖ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบอยู่ริมแม่น้ำน่านทางฝั่งตะวันออกโดยมีประชาชนร่วมใจกันจัดซื้อที่ดินสร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ เจ้าอาวาสมีรายนามตามลำดับ คือ รูปที่ ๑. พระอาจารย์ละม้าย, รูปที่ ๒. พระอาจารย์สุด พ. ศ. ๒๔๖๒-๒๔๖๓, รูปที่ ๓. พระอาจารย์เขียว พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๖๗, รูปที่ ๔. พระอาจารย์แปลกพ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๖๙ รูปที่ ๕. พระอาจารย์ผัน, รูปที่ 5. พระอาจารย์ดอกดิน พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๖, รูปที่ ๗. พระอาจารย์แม้นพ. ศ. ๒๔๘๗-๒๕๑๐, รูปที่ ๘. พระอาจารย์ระเบียบ พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๘ รูปที่ ๙. พระอาจารย์มานิต พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๑, รูปที่ ๑๐. พระอธิการสุด รูปที่ ๑๑. พระมหาศักดิเซาว์ และพระอธิการมหาดดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปีพ. ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๓ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตรยาว ๘๐ เมตร การศึกษา        มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม        เปิดสอนเมื่อพ. ศ. ๒๕๒๓ มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี         เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๕๕๔ มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ       เปิดสอนเมื่อพ. ศ. ๒๕๔๖ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระอธิการมหาด ปภสสโร

สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๔ ไร่ ๓ งาน ๒๓ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๗๒๐๔, ๗๑๔๙ น. ส. ๓ เลขที่ ๗๒๐๕ น. ส. ๓ ก. เลขที่๗๑๙๙

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ: จดหมู่บ้านประชาชน
  • ทิศใต้: จดหมู่บ้านประชาชน
  • ทิศตะวันออก: จดที่ดินของนายสง่า
  • ทิศตะวันตก: จดแม่น้ำและทางสาธารณะ

เจ้าอาวาส วัดพิกุล

พระอธิการมหาด ปภสสโร

วัตถุมงคล วัดพิกุล

มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางสมาธิ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๔ นิ้วสูง ๕๙ นิ้วสร้างเมื่อพ. ศ. ๒๕๒๒ พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางสมาธิ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๔ นิ้วสูง ๔๙ นิ้ว สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๕๒๒

ที่อยู่ วัดพิกุล

A: เลขที่ ๗๘ หมู่ที่ ๗ ตำบลฆะมัง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
T: ๐๘๘๑๗๒ ๗๑๐๒